Definition
Goals
Benefits
TPM 8 Pillars
TPM step-by-step
Kick-off and Model Area Phase
TPM Step-by-Step
TPM Assessment
Key Pillars and Special Topics
Maintenance Management
Public Training
In-house Training
TPM Training Package
TPM Thai articles
TPM Worldwide articles
Productivity
Others
IE Technique
Productivity Improvement
5s
Just-in-Time (JIT)
PMII Web Application
TQM
TPM Tag
Form & Checksheet
Software Development
Condition-based Maintenance Tools
Training Materials
Contact Us
OEE WORKSHOP AND ASSESSMENT
Links
Promotion and Practice Phase
Stabilization and Appling to Award
Introduction to TPM
Root Cause Analysis & Corrective Action
LCC analysis for decision making
Strategic Cost Reduction
Cost reduction technique
TPM for Manager
Practical TPM
Strategic TPM Leadership for Pillar Manager
CIMCO-CMMS
Overall Equipment Effectiveness (OEE)
TPM Train the Trainer
TPM Training & Follow-up
TPM and Corporate KPIs
Effective TPM Coordinator
Modern Maintenance Management: MMM
Maintenance Budget Planning and Control
How to Audit TPM Effectively
Strategic Production Management
Production Efficiency Improvement
Manufacturing Strategy Map & KPIs
Customized In-house Training and Workshop
EFFECTIVE TPM FACILITATOR (COORDINATOR) (NEW)
HOW TO AUDIT AM EFFECTIVELY
MAINTENANCE MANAGEMENT & SPAREPART CONTROL
OEE Workshop and Assessment
TPM FOR MANAGER (NEW)
TPM FOR SUPERVISOR
MAINTENANCE COST BUDGET PLANNING AND CONTROL
Modern Maintenance Practice
Strategic Plant Reliability & Maintenance Manageme
TPM: The Success Factors
HOW TO START TPM EFFECTIVELY
Strategic Cost Reduction
INTENSIVE 4-DAYS TPM TRAINING & FOLLOW-UP
PRACTICAL TPM
Individual Improvement (Kobestsu Kaizen)
Autonomous Maintenance (Jishu-Hozen)
Planned Maintenance
TPM-KM (TPM Knowledge Management)
Initial-Phase Management
Quality Maintenance
Office TPM
AUTONOMOUS MAINTENANCE FOR THE OEE IMPROVEMENT
INTRODUCTION TO TPM AND AUTONOMOUS MAINTENANCE
KOBETSU KAIZEN AND JISHU HOZEN
TPM PILLARS ASSESSMSNT
AUTONOMOUS MAINTENANCE
OVERALL INSPECTION
QUALITY MAINTENANCE
LCC & MP Design
Practical 5S
Effective 5Ss Facilitator
How to Audit 5Ss Fairly and Effectively
Visual Control and Poka - Yoke
Superior Working Team
Effective Meeting and Communication
Effective Problem Solving for Manager
Basic Supervisory Skill
Advanced Supervisory Skill
Multi-skill Supervisor
Traditional and New 7 QC Tools
P-M and Why-why Analysis: An Advanced Step to Zero
DOE: Design of Experiment
MSA: Measurement System Analysis
SPC: Statistical Process Control
PM: Preventive Maintenance
PREDICTIVE MAINTENANCE
DESIGN OF EXPERIMENT: THE DOE TRAINING & FOLLOW-UP
ANOVA by MINITAB & SPSS
CROSS FUNCTIONAL ALIGNMENT
การแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วยกา
EFFECTIVE 5S IMPLEMENTATION
EFFECTIVE PROBLEM SOLVING
P-M ANALYSIS
POKA-YOKE
TPM VISUAL CONTROL
TPM VISUAL CONTROL
INITIAL PHASE MANAGEMENT
Machine Life Cycle Costing (LCC)
Root Cause Analysis & Corrective Action
FAILURE MODE & EFFECTS ANALYSIS (FMEA)
Lean Management
TQM in Action
Easy Six Sigma
Productivity Tools and Technique
Total Energy Conservation
Bottom-up Activity
JIT
Project Management
EFFECTIVE MANAGERIAL SKILL
PRACTICAL IE FOR MANAGER
EFFECTIVE COST REDUCTION TECHNIQUES
6S AUDIT (5S EFFECTIVELY)
TPM Consulting Package
In-house Training / TPM 8 Pillars
TPM Tools and Technique
TPM Related
Related
/ Just-in-Time (JIT)
ปรัชญาและระบบการผลิต (Production: Philosophy and System)
Waste-free Production
Just-in-time
Lean Production
ปรัชญาการผลิตที่แต่ละองค์การนำมาใช้ จะนำมาซึ่งระบบการผลิตที่แตกต่างกัน และระบบการผลิตที่แตกต่างกันนี้จะทำให้เกิดข้อดี ข้อเสียและโอกาสในการเกิดความสูญเสียประเภทต่างๆ นั้นต่างกันไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ ปรัชญาและระบบการผลิตประเภทต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเลือกใช้และออกแบบระบบการผลิตให้เหมาะสมกับองค์การต่อไป
สร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิต (Economy of Scale)
ปรัชญาการผลิตที่ยึดถือการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดการผลิต จะนำมาซึ่งระบบการผลิตที่เรียกกันว่า การผลิตคราวละมากๆ (Mass Production) ที่มีพื้นฐานมาจากข้อเสนอของ Frederick W. Taylor ในยุคการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ที่แนะนำให้ผลิตสินค้าที่ไม่มีความหลากหลายในปริมาณมากๆ และแบ่งประเภทแรงงานออกตามความเชี่ยวชาญเป็นอย่างๆ ไป (Specialization of Labor) ในปี ค.ศ. 1923 การผลิตแบบคราวละมากๆ ได้รับความนิยมสูงสุด ตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาดังกล่าว รถยนต์ฟอร์ด ทุกคันจะมีสีดำและมีราคาถูก เพียง 245 เหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม การจำกัดทางเลือกในเรื่องสีรถยนต์ของฟอร์ดไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เมื่อบริษัทเยเนอรัลมอร์เตอร์ เสนอทางเลือกให้กับตลาดรถยนต์ ด้วยรถยนต์ที่หลากสีมากกว่า แต่การปรับตัวของฟอร์ดในช่วงนั้นทำได้ไม่สะดวกนัก และไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุผลหลักที่ส่วนใหญ่มาจากระบบการผลิตคราวละมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือหนัก การใช้ฝีมือแรงงานเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียว และการสั่งซื้อชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไว้แล้วจำนวนมาก และนี่คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการผลิตรูปแบบอื่นขึ้นมา เพื่อลดความไม่คล่องตัวและความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการผลิตแบบคราวละมากๆ
ภายในกรอบความคิดของระบบการผลิตแบบคราวละมากๆ ฝ่ายการตลาดจะพยากรณ์ความต้องการสินค้าไว้สูงสุดในระยะยาวและวางแผนความต้องการวัสดุสำหรับอนาคตข้างหน้า โดยการประมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนต้องเพียงพอต่อยอดสินค้าที่พยากรณ์ไว้ และเตรียมไว้พร้อมภายในโรงงานก่อนที่การผลิตจะเริ่มขึ้น ถ้าสมมุติว่าวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ มักมาไม่ค่อยตรงเวลาก็ต้องมีการเผื่อเวลาในการสั่งซื้อ เพื่อให้วัตถุดิบและชิ้นส่วนมาถึงโรงงานล่วงหน้ามากขึ้น และถ้าสมมุติว่าตลาดไม่ต้องการสินค้าตามที่พยากรณ์ไว้ตั้งแต่แรก ก็ต้องมีการจัดเก็บสินค้าเพื่อรอจำหน่ายในโอกาสต่อไป
จากที่กล่าวมาก็คือ การคงคลังวัตถุดิบและสินค้า ซึ่งนอกจากความยุ่งยากในการคงคลังให้พอดีกับความต้องการแล้ว ค่าใช้จ่ายในการคงคลังยังสูงอีกด้วย จากรายงานของ David M. Anderson (2003) รายงานไว้ว่า เมื่อประมาณ 25 ปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการคงคลังโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25% ของมูลค่าสินค้าและวัสดุคงคลัง หรืออาจพูดได้ว่าบริษัทต้องใช้เงิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับของคงคลังที่มีมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นค่าดอกเบี้ย ค่าพื้นที่จัดเก็บ ค่าประกัน และค่าบริหาร ถึงแม้ข้อมูลนี้จะเป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ความสูญเสียในทำนองเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน
การผลิตคราวละมากๆ แต่ละขั้นตอนจะทำการผลิตชิ้นงานจำนวนมาก และจะส่งไปยังขั้นตอนต่อไปก็ต่อเมื่อครบปริมาณที่ต้องการ และถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ยากที่จะมองเห็นและรับรู้ได้โดยง่าย เนื่องจากชิ้นงานจำนวนมากที่อยู่ระหว่างกระบวนการ (Work in Process: WIP) คอยปิดบังเอาไว้ กว่าจะพบปัญหาเหตุการณ์ก็มักจะล่วงเลยไปอย่างน้อยก็ 1 ชุด ที่ทำการผลิต (Batch) หมายความว่าอาจจะเสียทั้งชุดหรือต้องนำกลับมาแก้ไขทั้งชุดก็อาจเป็นได้
จะเห็นได้ว่าการผลิตคราวละมากๆ ถึงแม้จะมีความได้เปรียบในเรื่องส่วนลดเมื่อซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในปริมาณมากๆ มีการวางแผนการผลิตที่ง่ายกว่าเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนน้อยมาก แต่การผลิตคราวละมากๆ ก็ทำให้มีต้นทุนแฝงอยู่ในรูปของสินค้าและวัสดุคงคลัง รวมถึงโอกาสในการเกิดความสับสนในการควบคุมกระบวนการผลิตเนื่องจากงานระหว่างกระบวนการจำนวนมาก
สร้างความได้เปรียบโดยการกำจัดความสูญเสีย (Waste-free Production)
ปัจจุบันไม่ใช่ยุคของการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิต ( Economy of Scale ) เนื่องจากการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิต จำเป็นต้องทำการผลิตคราวละมากๆ ( Mass Production ) ซึ่งจะทำให้มีความสูญเสียในรูปของเงินจม ( Sunk Cost ) ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่ การคงคลังวัสดุ การจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำรอง และที่สำคัญการสร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิตทำให้องค์การปรับตัวช้าและไม่ยืดหยุ่นเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
โลกของการผลิตปัจจุบันเข่งขันกันด้วยการสร้างความได้เปรียบในการกำจัดความสูญเสียในระบบการผลิต ( Waste - Free Production) เพื่อเป็นหนทางไปสู่การปรับตัวที่ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าคู่แข่งขัน หรือเรียกว่า ได้เปรียบที่ความเร็ว (Economy of Speed )
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคคลของบริษัทตระหนักถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
เพื่อให้บุคลากรของบริษัทเข้าใจแนวความสำคัญ และการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดความสูญเสีย
เพื่อให้บุคลากรของบริษัททุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุง และลดความสูญเสียในส่วนของตนเอง
เพื่อให้บริษัทมีสถานที่ทำงานเป็นระเบียบ การไหลของวัสดุไม่ติดขัด และมีกระบวนการป้องกันความผิดพลาด
เป้าหมาย
มีการจัดสถานที่ทำงานที่สอดคล้องกับระบบการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย
มีการจัดระบบการไหลของวัสดุและการทำงานที่ต่อเนื่อง ลด WIP และการคงคลังประเภทต่างๆ
มีการวางแผนและจัดทำการป้องกันความผิดพลาดด้วยตัวของกระบวนการ
มีการลดเวลาการตั้งเครื่องหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บริษัทจะมีการปรับปรุงการจัดสถานที่ทำงาน ( Workplace Organization )
บริษัทจะมีระบบการทำงานที่ไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง และลดความสูญเสียจากการคงคลัง ( Uninterrupted Flow )
อัตราของเสียและการทำงานที่ผิดพลาดลดลง ( Error - Free Processing )
Single - Minute Exchange of Die ( SMED ) ( Insignificant Changeover )
ระดับของการผลิตแบบปราศจากความสูญเสีย ( WFP Level)
Four Drivers to WFP
Workplace Organization Levels
Uninterrupted Flow Levels
Error - Free Processing Levels
Insignificant ChangeoverLevels
I
II
III
IV
V
VI
I
II
III
I
II
I
II
WFP Level I
O
O
O
O
WFP Level II
O
O
O
O
WFP Level III
O
O
O
O
การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time: JIT)
การผลิตแบบทันเวลาพอดี เป็นระบบการผลิตที่นำมาใช้เพื่อสนองปรัชญาในการผลิตที่มุ่งเน้นกำจัดความสูญเสียหรือกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าต่างๆ ออกจากระบวนการ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้การบริหารจัดการวัตถุดิบและชิ้นส่วนเข้าสู่กระบวนการผลิตในปริมาณและเวลาที่ต้องการ เพื่อให้ผลิตเป็นสินค้าได้พอดีกับความต้องการทั้งปริมาณและเวลา ทั้งนี้ เพื่อลดความสูญเสียและต้นทุนที่มาจากการคงคลัง และลดงานระหว่างกระบวนการอันเป็นข้อเสียของการผลิตแบบคราวละมากๆ
การผลิตแบบทันเวลาพอดี ถึงแม้จะช่วยลดความสูญเสียอย่างที่เคยมีในการผลิตแบบคราวละมากๆ ได้ แต่การผลิตแบบทันเวลาพอดีก็จะมีปัญหาตรงที่ต้องคอยปรับตั้งกระบวนการและการวางแผน รวมถึงการบริหารความร่วมมือกับผู้ผลิตจากภายนอก (Supplier) โดยสรุปการผลิตแบบทันเวลาพอดี ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ต่างจากการผลิตคราวละมากๆ ดังต่อไปนี้
ต้องมีการจัดสมดุลสายการผลิต ให้แต่ละสถานีงานมีภาระงานเท่ากัน และสามารถรองรับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้
ต้องลดหรือกำจัดเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องเมื่อเปลี่ยนรุ่นการผลิต (Setup Time) โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 10 นาที หรือที่เรียกกันว่า SMED (Single Minute Exchange of Die) หรือการเปลี่ยนรุ่นการผลิตโดยกดปุ่มเดียว (One-Touch-Setup) ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้คงต้องอาศัยการวางแผน การออกแบบกระบวนการ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดี
ต้องลดขนาดของการผลิตและการสั่งซื้อแต่ละคราว (Lot Size) ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดจำนวนครั้งของการตั้งเครื่องและจำนวนครั้งของการสั่งซื้อที่มากขึ้น
ต้องลดเวลาในการผลิตและส่งมอบ (Production Lead Time และ Delivery Lead Time) ซึ่งเวลานำในการผลิตสามารถลดลงได้โดยความร่วมมือกันระหว่างหน่วยผลิต ส่วนการลดเวลานำในการส่งมอบก็สามารถลดลงได้โดยความร่วมมือและการติดต่อประสานงานที่ดีกับผู้ผลิตจากภายนอก
ต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันเพื่อให้เครื่องจักรมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการผลิตแบบทันเวลา เครื่องจักรจะมีโอกาสหยุดให้บำรุงรักษามากกว่าการผลิตครั้งละมากๆ
ต้องมีแรงงานแบบหลายทักษะ (Flexible Work Force) เช่นสามารถใช้เครื่องจักรได้ สามารถบำรุงรักษาได้ สามารถตรวจสอบคุณภาพได้และสามารถทำงานอื่นได้ ซึ่งแตกต่างจากการผลิตคราวละมากๆ ที่จะใช้แรงงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง
ต้องการผู้ผลิตจากภายนอกที่เชื่อถือได้ และมีระบบประกันคุณภาพที่จะไม่ทำให้ชิ้นส่วนด้อยคุณภาพมาถึงโรงงาน รวมถึงมีระบบประเมินผู้ผลิตจากภายนอก
ต้องขนถ่ายชิ้นงานระหว่างหน่วยผลิตคราวละน้อยๆ หรือถ้าเป็นไปได้ก็คราวละหนึ่งหน่วย (Small-Lot-Conveyance หรือ One-Piece Flow) ทั้งนี้เพื่อลดเวลานำและลดปริมาณงานระหว่างกระบวนการ
การผลิตแบบ Lean (Lean Production)
คำว่า Lean เกิดขึ้นยุค ค.ศ.1980 เพื่อใช้อธิบายระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) ในขณะที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบการผลิตรถยนต์ในประเทศต่างๆ ของสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาในครั้งนั้น พบว่า บริษัท โตโยต้า สามารถผลิตรถยนต์แข่งขันได้ทั่วโลก เนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิภาพของการออกแบบ การผลิต การตลาดและการบริการ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวมีปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่การกำจัดความสูญเสียในกระบวนการและการใช้ประโยชน์จากบริษัทที่จัดส่งชิ้นส่วนให้โตโยต้า เพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าที่ใช้รถยนต์ Moden (1993), Ohno (1990) และ Shingo (1989) ได้อธิบายลักษณะของการผลิตแบบ Lean ไว้ในเชิงเปรียบเทียบกับการผลิตคราวละมากๆ ว่า
ต้องใช้เวลาเพียงครึ่งเดียวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
ต้องใช้ชั่วโมงการทำงานของวิศวกรเพียงครึ่งเดียวในการออกแบบ
ต้องใช้แรงงานเพียงครึ่งเดียวในการผลิต
ต้องลงทุนเพียงครึ่งเดียวในเรื่อง เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่โรงงาน
สังเกตว่าทั้งระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี และระบบการผลิตแบบ Lean ต่างก็มีปรัชญาในการผลิตที่เหมือนกัน คือ มุ่งกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหากทำการผลิตคราวละมากๆ แต่การผลิตแบบทันเวลาพอดี และแบบ Lean ก็มีความสูญเสียในเรื่องเวลาการปรับตั้งกระบวนการ เนื่องจากเปลี่ยนรุ่นการผลิต นอกจากนั้น ยังมีความยุ่งยากในการวางแผนและควบคุมการผลิต รวมถึงความยุ่งยากในการควบคุมผู้ผลิตชิ้นส่วนจากภายนอก ในภาพ เป็นการสรุปข้อดี ข้อเสีย และความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปรัชญาและระบบการผลิต
การเปรียบเทียบปรัชญาและระบบการผลิต
ปรัชญาการผลิต
ระบบการผลิต
ความสูญเสียจาก
ข้อดี
ข้อเสีย
สร้างความได้เปรียบด้วยขนาดของการผลิต (Economy of Scale)
การผลิตคราวละมากๆ
- การผลิตมากเกินไป
- การเก็บสต็อกมากเกินไป
- งานระหว่างกระบวนการ
- ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
- การวางแผนและควบคุมการผลิตทำได้ง่าย
- มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์
- เกิดต้นทุนแฝง เนื่องจากความสูญเสียประเภทต่างๆ
- ไม่มีความยืดหยุ่น เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลง
- ล่าช้าต่อการแก้ปัญหา
สร้างความได้เปรียบโดยการกำจัดความสูญเสีย (Waste-free Production)
- การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time)
- การเปลี่ยนรุ่นการผลิต
- อัตราการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอุปกรณ์
- ไม่มีต้นทุนจมกับของคงคลัง
- มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับกระบวนการได้ง่าย
- สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
- มีความยุ่งยากในการวางแผนและควบคุมการผลิต
- ต้องการความร่วมมือจากผู้ผลิตจากภายนอก (Supplier)
- ต้องสร้างแรงงานแบบหลายทักษะ
- การผลิตแบบ Lean (Lean Production)
- การเปลี่ยนรุ่นการผลิต
- อัตราการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรอุปกรณ์
- ไม่มีต้นทุนจมกับของคงคลัง
- มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับกระบวนการได้ง่าย
- สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
- มีความยุ่งยากในการวางแผนและควบคุมการผลิต
- ต้องการความร่วมมือจากผู้ผลิตจากภายนอก (Supplier)
- ต้องสร้างแรงงานแบบหลายทักษะ
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบและประเภทของการผลิตตามความหลากหลายและปริมาณของผลิตภัณฑ์
ความหลากหลายและปริมาณของผลิตภัณฑ์
ระบบการผลิต
ประเภทของการผลิต
Mass
J IT
Lean
ตามลักษณะการจัดจำหน่าย
ตามลักษณะสายการผลิต
Made to Order
Made to Stock
Assembly to Stock
Project
Job Shop
Batch
Line Flow
Continuous
มีความหลากหลายและปริมาณต่ำมาก
O
O
ความหลากหลายสูงและปริมาณต่ำ
O
O
O
O
O
ความหลากหลายพอประมาณและปริมาณสูง
O
O
O
O
O
O
O
O
ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวและปริมาณสูงมาก
O
O
O
บริการให้ปรึกษาแนะนำ
ติดต่อ
Administrator
E-mail :
admin@tpmconsulting.org
Tel.
0-2207-2698 / 0-9762-4079
Fax.
0-2939-3588