Definition
Goals
Benefits
TPM 8 Pillars
TPM step-by-step
Kick-off and Model Area Phase
TPM Step-by-Step
TPM Assessment
Key Pillars and Special Topics
Maintenance Management
Public Training
In-house Training
TPM Training Package
TPM Thai articles
TPM Worldwide articles
Productivity
Others
IE Technique
Productivity Improvement
5s
Just-in-Time (JIT)
PMII Web Application
TQM
TPM Tag
Form & Checksheet
Software Development
Condition-based Maintenance Tools
Training Materials
Contact Us
OEE WORKSHOP AND ASSESSMENT
Links
Promotion and Practice Phase
Stabilization and Appling to Award
Introduction to TPM
Root Cause Analysis & Corrective Action
LCC analysis for decision making
Strategic Cost Reduction
Cost reduction technique
TPM for Manager
Practical TPM
Strategic TPM Leadership for Pillar Manager
CIMCO-CMMS
Overall Equipment Effectiveness (OEE)
TPM Train the Trainer
TPM Training & Follow-up
TPM and Corporate KPIs
Effective TPM Coordinator
Modern Maintenance Management: MMM
Maintenance Budget Planning and Control
How to Audit TPM Effectively
Strategic Production Management
Production Efficiency Improvement
Manufacturing Strategy Map & KPIs
Customized In-house Training and Workshop
EFFECTIVE TPM FACILITATOR (COORDINATOR) (NEW)
HOW TO AUDIT AM EFFECTIVELY
MAINTENANCE MANAGEMENT & SPAREPART CONTROL
OEE Workshop and Assessment
TPM FOR MANAGER (NEW)
TPM FOR SUPERVISOR
MAINTENANCE COST BUDGET PLANNING AND CONTROL
Modern Maintenance Practice
Strategic Plant Reliability & Maintenance Manageme
TPM: The Success Factors
HOW TO START TPM EFFECTIVELY
Strategic Cost Reduction
INTENSIVE 4-DAYS TPM TRAINING & FOLLOW-UP
PRACTICAL TPM
Individual Improvement (Kobestsu Kaizen)
Autonomous Maintenance (Jishu-Hozen)
Planned Maintenance
TPM-KM (TPM Knowledge Management)
Initial-Phase Management
Quality Maintenance
Office TPM
AUTONOMOUS MAINTENANCE FOR THE OEE IMPROVEMENT
INTRODUCTION TO TPM AND AUTONOMOUS MAINTENANCE
KOBETSU KAIZEN AND JISHU HOZEN
TPM PILLARS ASSESSMSNT
AUTONOMOUS MAINTENANCE
OVERALL INSPECTION
QUALITY MAINTENANCE
LCC & MP Design
Practical 5S
Effective 5Ss Facilitator
How to Audit 5Ss Fairly and Effectively
Visual Control and Poka - Yoke
Superior Working Team
Effective Meeting and Communication
Effective Problem Solving for Manager
Basic Supervisory Skill
Advanced Supervisory Skill
Multi-skill Supervisor
Traditional and New 7 QC Tools
P-M and Why-why Analysis: An Advanced Step to Zero
DOE: Design of Experiment
MSA: Measurement System Analysis
SPC: Statistical Process Control
PM: Preventive Maintenance
PREDICTIVE MAINTENANCE
DESIGN OF EXPERIMENT: THE DOE TRAINING & FOLLOW-UP
ANOVA by MINITAB & SPSS
CROSS FUNCTIONAL ALIGNMENT
การแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วยกา
EFFECTIVE 5S IMPLEMENTATION
EFFECTIVE PROBLEM SOLVING
P-M ANALYSIS
POKA-YOKE
TPM VISUAL CONTROL
TPM VISUAL CONTROL
INITIAL PHASE MANAGEMENT
Machine Life Cycle Costing (LCC)
Root Cause Analysis & Corrective Action
FAILURE MODE & EFFECTS ANALYSIS (FMEA)
Lean Management
TQM in Action
Easy Six Sigma
Productivity Tools and Technique
Total Energy Conservation
Bottom-up Activity
JIT
Project Management
EFFECTIVE MANAGERIAL SKILL
PRACTICAL IE FOR MANAGER
EFFECTIVE COST REDUCTION TECHNIQUES
6S AUDIT (5S EFFECTIVELY)
TPM Consulting Package
In-house Training / TPM 8 Pillars
TPM Tools and Technique
TPM Related
Related
/ Productivity Improvement
แนวคิดและความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
Concept and Important of productivity
1 ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
คำว่า "Productivity" หรือการเพิ่มผลผลิต มีการแปลในภาษาต่าง ๆ กัน และให้ความหมายต่างๆ กัน เช่น การเพิ่มปริมาณการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ผลผลิตไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการผลิต ถ้าสามารถทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ได้ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน ลดการสูญเสีย และการใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตให้มากขึ้น ก็นับว่าเป็นการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2 ความเป็นมาและแนวความคิด
ความเป็นมาและแนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตนั้นเริ่มต้นจาก การนำแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหาร ซึ่งเริ่มมาจากเฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ ในปี 2454 โดยเน้นว่าหลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของทั้งพนักงานและฝ่ายบริหาร ที่มองเห็นความจำเป็นในการใช้หลักวิทยาศาสตร์มาบริหาร การที่จะผลักดันให้เกิดผลผลิตนั้นต้องการความร่วมมือจากกลุ่มคนฝ่ายต่าง ๆ นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป เนื่องจากการเพิ่มผลผลิตนั้นก่อประโยชน์ให้กับบุคคลในกลุ่มต่าง ๆนั่นเอง การมีส่วนร่วมกันทุกฝ่ายเพื่อที่จะ ผลักดันให้เกิดผลผลิต และประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ได้กระจายไปอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิต
2.1 แนวคิดในทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มผลผลิตคือ อัตราส่วนระหว่างมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตต่อมูลค่าของทรัพยากรที่ใช้ไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผลผลิตเท่ากับผลผลิต (Output) หารด้วยปัจจัยการผลิต (Input)
ผลผลิตได้แก่ สินค้าบริการต่าง ๆ เช่น รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ ตู้โต๊ะ อาหาร การขนส่ง ธนาคาร และอื่น ๆ
ปัจจัยการผลิตก็คือ ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ แรงงาน วัตถุดิบ พลังงาน เครื่องจักร เงินทุน และอื่น ๆ
การเพิ่มผลผลิตในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์นี้จะต้องมีการวัดเพิ่มผลผลิต ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการวัดทางกายภาพ (Physical Productivity) คือวัดขนาดผลงานเป็นชิ้น น้ำหนัก เวลา หรือจำนวนคนงาน และการวัดคุณค่า (Value Productivity) วัดเป็นจำนวนเงิน ค่าที่เป็นตัวเงิน ดังนั้น การพิจารณาการเพิ่มผลผลิตมี 4 กรณี คือ
ผลิตผลเพิ่มปัจจัยการเพิ่มเท่าเดิม
ผลิตผลเพิ่มปัจจัยการผลิตลดลง
ผลิตผลเท่าเดิม แต่ปัจจัยการผลิตลดลง
ผลิตผลเพิ่ม และปัจจัยการผลิตเพิ่ม แต่ปัจจัยการผลิตเพิ่มในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มผลผลิต
ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจึงไม่จำเป็นต้องหมายถึงการเพิ่มปริมาณการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องของผลิตผลเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าการเพิ่มปริมาณการผลิตนั้น เกิดขึ้นในขณะที่ตลาดไม่ต้องการยังเป็นผลร้ายต่อหน่วยงานอีกด้วย
2.2 แนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม ในทางเศรษฐกิจและสังคมการเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องแสดงถึงระดับความสำเร็จของเป้าหมาย พื้นฐานที่จะนำไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชาชน และคุณภาพชีวิต และการทำงานการเพิ่มผลผลิตจึงเป็นเครื่องวัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมได้เป็นอย่างดี การเพิ่มผลผลิตระดับชาติ แสดงถึงความสามารถของชาตินั้นในการดำเนินงานพัฒนาประเทศหรือพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคง และก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเพิ่มผลผลิตในแนวคิดนี้ จึงเป็นความสำนึกในจิตใจ (Conscious of mind) เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเสมอ โดยมีพื้นฐานพลังความเชื่อที่ว่า เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และพรุ่งนี้ จะต้องดีกว่าวันนี้
การเพิ่มผลผลิตเป็นการปรับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้ากับสภาวการณ์กำลังเปลี่ยนแปลง เป็นความพยายามต่อเนื่องที่จะประยุกต์เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานแก่สังคมและประเทศชาตื รวมทั้งความสำนึกในเรื่องของการประหยัด ทรัพยากร พลังงานและเงินตรา เพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ดังนั้น จะเห็นว่าการเพิ่มผลผลิตรวมทั้งความหมายทางวิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจสังคม คือทั้งความหมายแคบและกว้างนั้น ครอบคลุมหลายความคิด หลายกิจกรรมจึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามร่วมกัน ร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชาติโดยส่วนรวม
3 ทำไมจึงต้องมีการเพิ่มผลผลิต
เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น นับวันมีแต่จะขาดแคลนลง การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการสูญเสียน้อยที่สุดเพื่อสนองตอบหรือให้บริการแก่กลุ่มบุคคลจำนวนมากที่สุด
การเพิ่มผลผลิต เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนและการพยากรณ์ในอนาคต เช่น การกำหนดผลิตผลในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการ ไม่ก่อให้เกิดส่วนเกินอันสูญเปล่าของทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเพิ่มผลผลิตระดับสูงทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง สามารถสู้กับคู่แข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้
4 เราจะได้อะไรบ้างจากการเพิ่มผลผลิต
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตมีผลกระทบแก่ทุกกลุ่มบุคคลทุกระดับ ทุกสาขา อาทิ ในแง่ของพนักงานหรือผู้ใช้แรงงาน :
การเพิ่มผลผลิต ช่วยให้
การแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแผนจากการทำงาน ยุติธรรมและได้
ผลตอบแทนที่สูงขึ้น
สภาพการทำงานที่ดีขึ้น
ความมั่นคง ในการทำงาน
การพัฒนาทักษะและความสามารถ
4.1
ในแง่ของผู้บริโภค :
ถ้ามีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตแล้ว ผู้บริโภคจะได้รับ
สินค้า บริการในราคาถูก เพราะการเพิ่มผลผลิตช่วยทำให้ลดต้นทุนการผลิต
มีสินค้าบริการคุณภาพสูงขึ้นและมีให้เลือกมากขึ้น เนื่องจากการยกระดับการเพิ่มผลผลิต ผลผลิตที่ได้จึงมาจากการแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ
4.2
ในแง่ผู้ผลิต :
ในการเพิ่มผลผลิตช่วยให้เกิดการลดต้นทุน และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้นทำได้
สามารถขยายรูปแบบการลงทุนผลที่ตาทมาก็คือมีสินค้าบริการเสนอตลาดมากขึ้น
เป็นการสร้างโอกาสในการทำงานด้วย
เป็นการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยี ซึ่งผลก็คือการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า
ปรับปรุงสถานการณ์แข่งขันในตลาด
4.3
ในแง่รัฐบาล :
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตช่วยให้รัฐบาลสามารถ
จัดหาบริการสังคมให้มากขึ้น และดีกว่าเดิม
สามารถดำเนินการตามโครงการพัฒนาต่างๆอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
4.4
ในระดับชาติ :
การเพิ่มผลผลิตมุ่งถึง
การลดผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ
มารตฐานการครองชีพของประชาชนสูงขึ้น
ขยายและกระจายโอกาสจ้างงานมากขึ้น
การขจัดความขัดแย้งทางสังคม เพราะมีสินค้าบริการไว้บริการประชาชนในระดับราคาที่ประชาชนทั่วไปสามารถจับจ่ายซื้อได้
5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งระดับชาติและในระดับบริษัท
5.1
ระดับชาติ :
มีปัจจัย 3 ประการ ที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตคือ
นโยบาย
ทรัพยากร
ค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรม
1. นโยบายของรัฐ :
ครอบคลุมถึงเป้าหมายของรัฐบาลในการเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามด้วย ความมั่นคง ความเป็นธรรม การจ้างงาน และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ และการที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าว ก็จะต้องมีนโยบายส่งเสริมและกระทำอย่างต่อเนื่องในเรื่องเหล่านี้
1.1 การวางแผนรวมและการสาธารณูปโภค
1.2 ความคงที่ในเรื่องของราคา
1.3 ฐานภาษี
1.4 การส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม
1.5 การเปลี่ยนแปลงแบบแผนความต้องการภายในประเทศ
1.6 การทดแทนการนำเข้า
1.7 การแข่งขัน
1.8 ความเป็นธรรมและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
1.9 ความเจริญเติบโตและสภาพแวดล้อม
2. ทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ :
รวมไปถึงคนและเงินด้วย ทรัพยากรทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรือแบบของการจัดองค์การและการบริหารล้วนมีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น ทรัพยากรได้แก่
2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
2.2 ทรัพยากรบุคคล คือ ความสามารถของกำลังคนในสังคม ซึ่งถูกกำหนดโดย
ขนาดของประชากร
การรู้หนังสือ
การศึกษาและทักษะ
แรงงานด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และทัศนคติ
การเจริญเติบโตของประชากร
การว่างงาน
สุขภาพอนามัยของประชาชน
2.3 ทรัพยากรทางการเงิน
2.4 ความสามารถในด้านเทคโนโลยี
2.5 การจัดองค์การและการบริหาร
3. วัฒนธรรมและค่านิยมทางสังคม :
รวมถึงจริยธรรมในการทำงานและทัศนคติของประชาชน ซึ่งมีผลมาจากวัฒนธรรมและค่านิยมของสังคมในแต่ละประเทศ เช่น ค่านิยมส่วนบุคคล (Individual values) และทัศนคติซึ่งฝังตรึงติดแน่นอยู่ในจิตใจของคนในสังคม ได้แก่ ทัศนคติของประชาชน และค่านิยมของสังคม
5.2
ระดับบริษัทหรือโรงงาน
ความสามารถของฝ่ายบริหารในการกระตุ้นจูงใจคน การสั่งการ และการควบคุมปัจจัยในการผลิตทั้งหมดรวมทั้ง สมรรถนะและทัศนคติของคนงาน ความสามารถของบริษัทที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายนอกและการยอมรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ให้เหมาะกับทรัพยากรหรือปัจจัยภายนอกอื่นๆที่จะส่งผลกระทบถึงการเพิ่มผลผลิต โดยสรุปได้แก่
การบริหาร
กำลังคน
สัมพันธภาพ
ปัจจัยเรื่องทุน
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี
ปัจจัยภายนอกอื่นๆ
6 แนวทางการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในหน่วยงาน
สำหรับหน่วยงาน องค์การ หรือบริษัท ที่ต้องการส่งเสริมหรือปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตและการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการเพิ่มผลผลิต อาจจัดตั้งคณะทำงานขึ้นรับผิดชอบงานนี้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตของหน่วยงานนั้นประสบผลสำเร็จได้ก็จะต้องประกอบด้วย
การสนับสนุนของฝ่ายบริหารระดับสูง คือ ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนทั้งในด้านการเงิน ขวัญกำลังใจ และเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อการส่งเสริมและปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
บรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในงานที่เอื้ออำนวย จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ทุกคนในหน่วยงานเกิดความพยายามที่จะปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต สร้างสรรค์บรรยากาศให้พนักงาน คนงาน มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน มีการอบรมพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
ทุกคนในหน่วยงาน หรือองค์การ ถือเป็นข้อตกลงร่วมกัน และมีส่วนร่วมช่วยกันในเรื่องของการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเป็นโครงการต่อเนื่องระยะยาว
สัมพันธภาพของพนักงานและฝ่ายบริหาร ต้องดีอันจะนำมาซึ่งความร่วมมือกันในการเร่งปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในหน่วยงาน
การเพิ่มผลผลิตจะต้องมีการวัด และการประเมิน
การเพิ่มผลผลิตจะต้องมีการแบ่งปันอย่างยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
7 การปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิต :
เป็นเรื่องที่ต้องร่วมกันหลายฝ่าย ในระดับโรงานคือการรวมปัจจัยต่างไ ในการผลิตความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการอย่างมีเหตุผลและหลักการของฝ่ายจัดการที่จะปรับปรุงการเพิ่มผลผลิดของทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิต อาจทำการปรับปรุงโดยรวม หรือแยกไปตามแต่ละปัจจัยก็ได้ เช่น
7.1
การเพิ่มผลผลิตของแรงงาน
(Labour Productivity) เราสามารถส่งเสริมและปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตด้านแรงงาน โดย
การกระตุ้นและจูงใจคนงาน (Worker Motivation)
การฝึกอบบรมทักษะและพัฒนากำลังคน
การปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีขึ้น
การเพิ่มค่าจ้างและเงินเดือน
การปรับปรุงความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
จัดหาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
7.2
การเพิ่มผลผลิตของทุน
(Capital Productivity) หรือประสิทธิภาพในการใช้ทุน อาจปรับปรุงโดย
ยกระดับของเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ให้สูงขึ้น
มีการบำรุงรักษาที่ดีและสม่ำเสมอ
พัฒนาทักษะของคนงานในการทำงานกับเครื่องจักร
มีอะไหล่ อุปกรณ์พร้อม
มีความสมดุลของเครื่องจักรและเครื่องมือ
มีวัตถุดิบที่จะใช้ในกระบวนการผลิตมีพร้อมเสมอ
มีความต้องการของสินค้าหรือผลิตผลเพียงพอ
7.3
การเพิ่มผลผลิตของที่ดิน
(Land Productivity) ทำได้ 2 วิธี
การเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ทางการเกษตร อาจปรับปรุงโดย
การใช้การชลประธาน
การใช้ปุ๋ย
การเพาะปลูกพืชผลหลายพันธุ์
การใช้วิธีการและเทคนิคใหม่ทางการเกษตร
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเข้าช่วย
การเพิ่มผลผลิตสำหรับที่ดินที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ลุตสาหกรรม
จัดการแบ่งเขตที่ดินเป็นเขตอุตสาหกรรม หรือนิคมอุตสาหกรรมเขตส่งออก
ปรับปรุงโครงสร้างแบบหลายขั้นคือ สร้างตึกหลายชั้น เพื่อประหยัดเนื้อที่
จัดการบริหารการขนส่ง และคมนาคมให้ดีขึ้น
7.4
การเพิ่มผลผลิตของวัตถุดิบ
กำจัดการสูญเสียในทุกรูปแบบ
การคัดเลือกคุณภาพและเตรียมวัตถุดิบที่ดี ช่วยเพิ่มผลผลิตได้
ต้องมั่นใจว่าได้คุณค่าสูงสุดแล้วจากทรัพยากรที่ใช้ไป และได้เพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์แล้ว
8 การพัฒนาการเพิ่มผลผลิตของไทย
ประเทศไทยได้พัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นลำดับ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจัดได้ว่าได้รับความสำเร็จพอควร เราค่อย ๆ พัฒนาจากประเทศกำลังพัฒนารายได้ปานกลางไปสู่ประทศพัฒนาหลายรายได้สูงขึ้น มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงทัดเทียมประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศเศรษฐกิจการส่งออกก็เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการส่งออกที่ผ่านมา ยังไม่ช่วยยกระดับรายได้และฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ให้ดีขึ้นได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลไม่เหมาะสม เช่น การใช้แรงงานอัตราต่ำ ตลอดจนการส่งออกยังต้องอาศัยต่างประเทศเป็นสำคัญ ความเป็นจริงดังกล่าวนี้ขัดต่อหลักการของการเพิ่มผลผลิต ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นและพยายามที่จะปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจสังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น
ประเทศไทยกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดโลก และแรงกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตจึงเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า บัดนี้กระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นที่น่ายินดียิ่งกว่า บัดนี้กระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ประกาศทิศทางของการเพิ่มผลผลิตของประเทศไทยให้ประชาชน นักธุรกิจอุตสาหกรรมและข้าราชการ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเพือ่การเพิ่มผลผลิต อันจะทำให้ความพยายามของทุกฝ่ายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนำไปสู่เป้าหมายของการเพิ่มผลผลิต คือการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่ดี และความอยู่ดีกินดีของคนในชาติ
8.1 ทิศทางการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีกว่าอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อความอยู่ดีของตน และประชาชนในชาติ และบรรลุซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศอันเป็นเป้าหมายหลักของการเพิ่มผลผลิตระดับชาติ
ทุกคนต้องมีจิตสำนึกของการเพิ่มผลผลิต
ใช้ทรัพยากรบุคคล เวลา และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมีคุณค่าให้เกิดประโยชน์ระดับองค์การ
ยกระดับคุณภาพของทรัพยากรบุคคลทั้งในด้านทักษะและจิตสำนึกในการปรับปรุงเพิ่มผลผลิต
มุ่งพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
เสริมสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมืออันดีระหว่างฝ่ายบริหาร และพนักงานอันเป็นรากฐานที่มั่นคงของการเพิ่มผลผลิตในหน่วยงาน
จัดสรรผลประโยชน์จากการเพิ่มผลผลิตอย่างยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
นอกจากการกำหนดทิศทางทางการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตให้เป็นหน่วยงานระดับชาติรับผิดชอบในการส่งเสริมการเพ่มผลผลิตของธุรกิจอุตสาหกรรมรวมทั้งด้านผลิตและบริการ รวมทั้งหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกร่วมของคนในชาติด้วย เพื่อให้การก้าวไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่นั้น เป็นไปอย่างมั่นคงและบรรลุเป้าหมาย
9 การวัดการเพิ่มผลผลิตในองค์การ
9.1
วัฎจักรการเพิ่มผลผลิต (Productivity Cycle)
การเพิ่มผลผลิต (Productivity) เป็นสิ่งที่ต้องการกระทำตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเพราะการเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องมือที่จะทำให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการสูญเสียน้อยที่สุด ที่การผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าของทรัพยากร นั่นย่อมหมายถึงต้นทุนที่ต่ำลงและความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้น
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) เป็นกิจกรรมทางด้านการบริหารขององค์การที่จะต้องมีการวางแผนและปฏิบัติลำดับขั้นดังต่อไปนี้
การวัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Measurement)
การวิเคราะห์การเพิ่มผลผลิต (Productivity Analysis)
การวางแผนการเพิ่มผลผลิต (Productivity Planning)
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)
ขั้นตอนข้างต้นนี้เรียกว่า วัฎจักรการเพิ่มผลผลิต P-I-M-A ดังภาพ
วัฎจักรการเพิ่มผลผลิต