Definition
Goals
Benefits
TPM 8 Pillars
TPM step-by-step
Kick-off and Model Area Phase
TPM Step-by-Step
TPM Assessment
Key Pillars and Special Topics
Maintenance Management
Public Training
In-house Training
TPM Training Package
TPM Thai articles
TPM Worldwide articles
Productivity
Others
IE Technique
Productivity Improvement
5s
Just-in-Time (JIT)
PMII Web Application
TQM
TPM Tag
Form & Checksheet
Software Development
Condition-based Maintenance Tools
Training Materials
Contact Us
OEE WORKSHOP AND ASSESSMENT
Links
Promotion and Practice Phase
Stabilization and Appling to Award
Introduction to TPM
Root Cause Analysis & Corrective Action
LCC analysis for decision making
Strategic Cost Reduction
Cost reduction technique
TPM for Manager
Practical TPM
Strategic TPM Leadership for Pillar Manager
CIMCO-CMMS
Overall Equipment Effectiveness (OEE)
TPM Train the Trainer
TPM Training & Follow-up
TPM and Corporate KPIs
Effective TPM Coordinator
Modern Maintenance Management: MMM
Maintenance Budget Planning and Control
How to Audit TPM Effectively
Strategic Production Management
Production Efficiency Improvement
Manufacturing Strategy Map & KPIs
Customized In-house Training and Workshop
EFFECTIVE TPM FACILITATOR (COORDINATOR) (NEW)
HOW TO AUDIT AM EFFECTIVELY
MAINTENANCE MANAGEMENT & SPAREPART CONTROL
OEE Workshop and Assessment
TPM FOR MANAGER (NEW)
TPM FOR SUPERVISOR
MAINTENANCE COST BUDGET PLANNING AND CONTROL
Modern Maintenance Practice
Strategic Plant Reliability & Maintenance Manageme
TPM: The Success Factors
HOW TO START TPM EFFECTIVELY
Strategic Cost Reduction
INTENSIVE 4-DAYS TPM TRAINING & FOLLOW-UP
PRACTICAL TPM
Individual Improvement (Kobestsu Kaizen)
Autonomous Maintenance (Jishu-Hozen)
Planned Maintenance
TPM-KM (TPM Knowledge Management)
Initial-Phase Management
Quality Maintenance
Office TPM
AUTONOMOUS MAINTENANCE FOR THE OEE IMPROVEMENT
INTRODUCTION TO TPM AND AUTONOMOUS MAINTENANCE
KOBETSU KAIZEN AND JISHU HOZEN
TPM PILLARS ASSESSMSNT
AUTONOMOUS MAINTENANCE
OVERALL INSPECTION
QUALITY MAINTENANCE
LCC & MP Design
Practical 5S
Effective 5Ss Facilitator
How to Audit 5Ss Fairly and Effectively
Visual Control and Poka - Yoke
Superior Working Team
Effective Meeting and Communication
Effective Problem Solving for Manager
Basic Supervisory Skill
Advanced Supervisory Skill
Multi-skill Supervisor
Traditional and New 7 QC Tools
P-M and Why-why Analysis: An Advanced Step to Zero
DOE: Design of Experiment
MSA: Measurement System Analysis
SPC: Statistical Process Control
PM: Preventive Maintenance
PREDICTIVE MAINTENANCE
DESIGN OF EXPERIMENT: THE DOE TRAINING & FOLLOW-UP
ANOVA by MINITAB & SPSS
CROSS FUNCTIONAL ALIGNMENT
การแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วยกา
EFFECTIVE 5S IMPLEMENTATION
EFFECTIVE PROBLEM SOLVING
P-M ANALYSIS
POKA-YOKE
TPM VISUAL CONTROL
TPM VISUAL CONTROL
INITIAL PHASE MANAGEMENT
Machine Life Cycle Costing (LCC)
Root Cause Analysis & Corrective Action
FAILURE MODE & EFFECTS ANALYSIS (FMEA)
Lean Management
TQM in Action
Easy Six Sigma
Productivity Tools and Technique
Total Energy Conservation
Bottom-up Activity
JIT
Project Management
EFFECTIVE MANAGERIAL SKILL
PRACTICAL IE FOR MANAGER
EFFECTIVE COST REDUCTION TECHNIQUES
6S AUDIT (5S EFFECTIVELY)
TPM Consulting Package
In-house Training / TPM 8 Pillars
TPM Tools and Technique
TPM Related
/ การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ
Pillar 6 - การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance)
การผลิตชิ้นงานให้ได้คุณภาพและความประณีต (Precision) ตามพิกัดความเผื่อที่ได้ตกลงกับลูกค้าไว้นั้น ความแม่นยำของเครื่องจักรมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมความแม่นยำของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ด้วยการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ
การดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ คือ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการประกันคุณภาพและกิจกรรมการควบคุมเครื่องจักรเข้าด้วยกัน
โดยการติดตามคุณลักษณะทางด้านคุณภาพของชิ้นงานและการใช้งานของเครื่องจักรให้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
การจัดทำตารางมาตรฐานการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางด้านคุณภาพกับค่ามาตรฐานของการตั้งเครื่องจักร เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความประณีตตามพิกัดความเผื่อที่กำหนด
แนวคิดและความสำคัญของการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ
1.
การประกันคุณภาพกับการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ
การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่กระทำเพื่อความมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะต้องมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยกระบวนการคุณภาพเริ่มตั้งแต่การออกแบบมาจนถึงการคัดเลือกปัจจัยในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต และการป้องกันไม่ให้ชิ้นงานที่ไม่มีคุณภาพ
หลุดไปถึงมือลูกค้า
การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ (Quality Maintenance) คือ การประกันคุณภาพในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบหรือการเลือกซื้อ
การบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ผลิตชิ้นงานได้อย่างมีคุณภาพตลอดเวลา โดยการหาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพกับ ความแม่นยำของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพกับเงื่อนไขต่างๆ ในการตั้งเครื่องจักร ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพกับวิธีการทำงาน โดยความสัมพันธ์ทั้งหลายดังกล่าวนั้นกำหนดขึ้นมาเพื่อหาทางควบคุมต่อไป
2.
ความหมายของการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ
การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ คือ การประกันคุณภาพในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อ
ความมั่นใจในคุณภาพที่เกิดจากการบำรุงรักษาเครื่องจักร
เงื่อนไขต่างๆ ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่จะไม่ทำให้เกิดของเสีย
ป้องกันปัญหาทางด้านคุณภาพด้วยการควบคุมเงื่อนไขที่จะไม่ทำให้เกิดของเสีย
ตรวจวัดความเบี่ยงเบนของเงื่อนไขต่างๆ เพื่อพยากรณ์โอกาสที่จะเกิดของเสียและหาทางป้องกันล่วงหน้า
3.
การบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพกับ 5 เสาหลักของกิจกรรม TPM
ความจำเป็นขั้นพื้นฐานในการบำรุงรักษาเพื่อคุณภาพ คือ การทำให้เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือ อยู่ในสภาพที่ดี มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับ
สภาพแวดล้อม ทักษะ และวิธีการทำงาน ที่ต้องเอื้ออำนวยต่อการเกิดคุณภาพ และเพื่อให้บรรลุความจำเป็นขั้นพื้นฐานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มวัตถุประสงค์ในการมุ่งมั่นไม่ให้เกิดของเสียเข้าไปใน 5 เสาหลักของ กิจกรรม TPM อันประกอบไปด้วย การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง การบำรุงรักษาด้วยตนเอง การบำรุงรักษาตามแผน การคำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา ตามภาพ
ในภาพจะเห็นได้ว่า
การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง
จะเพิ่มเติมเรื่องของการปรับปรุงและการแก้ปัญหาทางด้านคุณภาพเข้าไปด้วย ในขณะที่
การบำรุงรักษาด้วย
ตนเอง
จะเพิ่มเติมทักษะในเรื่องของการสังเกตและแก้ไขปัญหาทางด้านคุณภาพเข้าไป ในส่วนของ
การบำรุงรักษาตามแผน
จะเพิ่มเรื่องของการตรวจสอบเงื่อนไขทางด้านคุณภาพเข้าไปในแผนการบำรุงรักษาตามคาบเวลา เพื่อเป็นการติดตามความเบี่ยงแบนของเงื่อนไขต่างๆ ว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ สำหรับการ
คำนึงถึงการบำรุงรักษาตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบ
จำเป็นที่จะต้องสร้างเงื่อนไขต่างๆ ที่คิดว่า จะทำให้เกิดการผลิตได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งการออกแบบเครื่องจักรและการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีเสาหลักที่ 5 คือ
การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา
เป็นกลไกในการสร้างจิตสำนึกและทักษะในการจัดการกับปัญหาทางด้านคุณภาพ
Reference
ธานี อ่วมอ้อ.
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง.
กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547.
ธานี อ่วมอ้อ.
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2546.
Developing Program: Implementing Total Productive Maintenance. Tokyo: Japan Insyitute, 1996.