Definition
Goals
Benefits
TPM 8 Pillars
TPM step-by-step
Kick-off and Model Area Phase
TPM Step-by-Step
TPM Assessment
Key Pillars and Special Topics
Maintenance Management
Public Training
In-house Training
TPM Training Package
TPM Thai articles
TPM Worldwide articles
Productivity
Others
IE Technique
Productivity Improvement
5s
Just-in-Time (JIT)
PMII Web Application
TQM
TPM Tag
Form & Checksheet
Software Development
Condition-based Maintenance Tools
Training Materials
Contact Us
OEE WORKSHOP AND ASSESSMENT
Links
Promotion and Practice Phase
Stabilization and Appling to Award
Introduction to TPM
Root Cause Analysis & Corrective Action
LCC analysis for decision making
Strategic Cost Reduction
Cost reduction technique
TPM for Manager
Practical TPM
Strategic TPM Leadership for Pillar Manager
CIMCO-CMMS
Overall Equipment Effectiveness (OEE)
TPM Train the Trainer
TPM Training & Follow-up
TPM and Corporate KPIs
Effective TPM Coordinator
Modern Maintenance Management: MMM
Maintenance Budget Planning and Control
How to Audit TPM Effectively
Strategic Production Management
Production Efficiency Improvement
Manufacturing Strategy Map & KPIs
Customized In-house Training and Workshop
EFFECTIVE TPM FACILITATOR (COORDINATOR) (NEW)
HOW TO AUDIT AM EFFECTIVELY
MAINTENANCE MANAGEMENT & SPAREPART CONTROL
OEE Workshop and Assessment
TPM FOR MANAGER (NEW)
TPM FOR SUPERVISOR
MAINTENANCE COST BUDGET PLANNING AND CONTROL
Modern Maintenance Practice
Strategic Plant Reliability & Maintenance Manageme
TPM: The Success Factors
HOW TO START TPM EFFECTIVELY
Strategic Cost Reduction
INTENSIVE 4-DAYS TPM TRAINING & FOLLOW-UP
PRACTICAL TPM
Individual Improvement (Kobestsu Kaizen)
Autonomous Maintenance (Jishu-Hozen)
Planned Maintenance
TPM-KM (TPM Knowledge Management)
Initial-Phase Management
Quality Maintenance
Office TPM
AUTONOMOUS MAINTENANCE FOR THE OEE IMPROVEMENT
INTRODUCTION TO TPM AND AUTONOMOUS MAINTENANCE
KOBETSU KAIZEN AND JISHU HOZEN
TPM PILLARS ASSESSMSNT
AUTONOMOUS MAINTENANCE
OVERALL INSPECTION
QUALITY MAINTENANCE
LCC & MP Design
Practical 5S
Effective 5Ss Facilitator
How to Audit 5Ss Fairly and Effectively
Visual Control and Poka - Yoke
Superior Working Team
Effective Meeting and Communication
Effective Problem Solving for Manager
Basic Supervisory Skill
Advanced Supervisory Skill
Multi-skill Supervisor
Traditional and New 7 QC Tools
P-M and Why-why Analysis: An Advanced Step to Zero
DOE: Design of Experiment
MSA: Measurement System Analysis
SPC: Statistical Process Control
PM: Preventive Maintenance
PREDICTIVE MAINTENANCE
DESIGN OF EXPERIMENT: THE DOE TRAINING & FOLLOW-UP
ANOVA by MINITAB & SPSS
CROSS FUNCTIONAL ALIGNMENT
การแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วยกา
EFFECTIVE 5S IMPLEMENTATION
EFFECTIVE PROBLEM SOLVING
P-M ANALYSIS
POKA-YOKE
TPM VISUAL CONTROL
TPM VISUAL CONTROL
INITIAL PHASE MANAGEMENT
Machine Life Cycle Costing (LCC)
Root Cause Analysis & Corrective Action
FAILURE MODE & EFFECTS ANALYSIS (FMEA)
Lean Management
TQM in Action
Easy Six Sigma
Productivity Tools and Technique
Total Energy Conservation
Bottom-up Activity
JIT
Project Management
EFFECTIVE MANAGERIAL SKILL
PRACTICAL IE FOR MANAGER
EFFECTIVE COST REDUCTION TECHNIQUES
6S AUDIT (5S EFFECTIVELY)
TPM Consulting Package
In-house Training / TPM 8 Pillars
TPM Tools and Technique
TPM Related
/ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติ และการบำรุงรักษา
Pillar 4 - การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา
TPM เป็นกิจกรรมในเชิงโครงสร้างที่ต้องการความร่วมมือจากทั้งองค์การ เพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในการทำงานด้วยเครื่องจักรให้มีบรรยากาศที่ดีและมีการจัดการที่ทันสมัย ดังนั้นเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานได้โดยสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทักษะและความชำนาญของพนักงานทุกคนในการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามการรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึก TPM อย่างประสบความสำเร็จ โดยทำให้ผู้ใช้เครื่องจักรคิดได้ว่า "เครื่องจักรของเรา เราต้องรักษา" นั้น มักประสบปัญหาที่ว่า ผู้ใช้เครื่องไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิค ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานการออกแบบเครื่องจักร และไม่มีความรู้ทางด้านบริหารจัดการ
หากต้องการพัฒนา TPM ให้ได้ผลอย่างต่อเนื่องนั้น การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่บ่อยครั้งการพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จ หากองค์การไม่สามารถหาแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะในหน่วยงานของตนเองทั้งในด้านความสามารถ ความสัมพันธ์ของบุคลากร และลักษณะของการปฏิบัติงาน
OJT และ OFF-JT
การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไปมีทั้งการฝึกอบรมที่จัดโดยหน่วยงานส่งเสริม TPM ซึ่งมีการนำผู้เรียนลงไปฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงหรือเรียกว่า On-the-Job Training (OJT) และการศึกษาหรือการฝึกอบรมแบบให้ผู้เรียนศึกษาในห้องเรียนหรือค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ หรือเรียกว่า Off-the-Job Training (OFF-JT) ทั้งนี้การศึกษาและฝึกอบรมทั้ง 2 รูปแบบต่างก็อยู่บนพื้นฐานของการปรับปรุงทักษะของแต่ละคน เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบริษัทด้วยการทำงานอย่างถูกต้องและมีความชำนาญ
การศึกษาและการฝึกอบรมดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นแบบ OJT หรือ OFF-JT เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารและหัวหน้างานในสายการผลิตนั้นๆ ในการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ให้กับพนักงาน ในหัวข้อหลักต่อไปนี้
การเพิ่มพูนทักษะในการดูแลรักษาเครื่องจักร
การเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงาน
ความหมายและลำดับขั้นการเกิดทักษะ
คำว่าทักษะมีความหมายโดยทั่วไปว่า ความสามารถในการปฏิบัติงาน หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว (ไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์เป็นเวลานาน) กับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความรู้และประสบการณ์
ผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่าในการตรวจจับความผิดปกติและหาทางแก้ไข คือ ผู้ที่มีทักษะสูงกว่าผู้ที่ใช้เวลามากกว่าในการทำอย่างเดียวกัน โดยทั่วไปคนเราจะมีการพัฒนาทักษะโดยอัตโนมัติ หากมีประสบการณ์ที่เพียงพอหรือมีโอกาสในการลองผิดลองถูก แต่การรอให้เกิดทักษะโดยอัตโนมัติดังกล่าว ต้องใช้เวลานานและไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับลักษณะส่วนบุคคลเป็นหลัก
ดังนั้นความหมายของการพัฒนาทักษะในที่นี้ จึงหมายถึงการให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อย่นย่อเวลาที่เกิดทักษะ โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว
สำหรับลำดับขั้นตอนของการพัฒนาทักษะของคนเราเริ่มตั้งแต่ไม่รู้อะไรเลย และไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มาก่อน จนถึงขั้นที่สามารถสอนผู้อื่นได้
มีดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 : ยังไม่มีทฤษฎีและทักษะ (ยังไม่ผ่านการฝึกอบรมและการปฏิบัติ)
ขั้นที่ 2 : มีเฉพาะทฤษฎี (เริ่มปฏิบัติงาน)
ขั้นที่ 3 : มีทักษะ (ประยุกต์ทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติ)
ขั้นที่ 4 : มีทฤษฎีใหม่ (ทฤษฎีที่ได้จากการปฏิบัติ)
ขั้นที่ 5 : มีทักษะขั้นสูงสามารถสอนผู้อื่นได้ (ประยุกต์ทฤษฎีใหม่เข้ากับทักษะ)
Reference
ธานี อ่วมอ้อ.
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง.
กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547.
ธานี อ่วมอ้อ.
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2546.
Developing Program: Implementing Total Productive Maintenance. Tokyo: Japan Insyitute, 1996.