Definition
Goals
Benefits
TPM 8 Pillars
TPM step-by-step
Kick-off and Model Area Phase
TPM Step-by-Step
TPM Assessment
Key Pillars and Special Topics
Maintenance Management
Public Training
In-house Training
TPM Training Package
TPM Thai articles
TPM Worldwide articles
Productivity
Others
IE Technique
Productivity Improvement
5s
Just-in-Time (JIT)
PMII Web Application
TQM
TPM Tag
Form & Checksheet
Software Development
Condition-based Maintenance Tools
Training Materials
Contact Us
OEE WORKSHOP AND ASSESSMENT
Links
Promotion and Practice Phase
Stabilization and Appling to Award
Introduction to TPM
Root Cause Analysis & Corrective Action
LCC analysis for decision making
Strategic Cost Reduction
Cost reduction technique
TPM for Manager
Practical TPM
Strategic TPM Leadership for Pillar Manager
CIMCO-CMMS
Overall Equipment Effectiveness (OEE)
TPM Train the Trainer
TPM Training & Follow-up
TPM and Corporate KPIs
Effective TPM Coordinator
Modern Maintenance Management: MMM
Maintenance Budget Planning and Control
How to Audit TPM Effectively
Strategic Production Management
Production Efficiency Improvement
Manufacturing Strategy Map & KPIs
Customized In-house Training and Workshop
EFFECTIVE TPM FACILITATOR (COORDINATOR) (NEW)
HOW TO AUDIT AM EFFECTIVELY
MAINTENANCE MANAGEMENT & SPAREPART CONTROL
OEE Workshop and Assessment
TPM FOR MANAGER (NEW)
TPM FOR SUPERVISOR
MAINTENANCE COST BUDGET PLANNING AND CONTROL
Modern Maintenance Practice
Strategic Plant Reliability & Maintenance Manageme
TPM: The Success Factors
HOW TO START TPM EFFECTIVELY
Strategic Cost Reduction
INTENSIVE 4-DAYS TPM TRAINING & FOLLOW-UP
PRACTICAL TPM
Individual Improvement (Kobestsu Kaizen)
Autonomous Maintenance (Jishu-Hozen)
Planned Maintenance
TPM-KM (TPM Knowledge Management)
Initial-Phase Management
Quality Maintenance
Office TPM
AUTONOMOUS MAINTENANCE FOR THE OEE IMPROVEMENT
INTRODUCTION TO TPM AND AUTONOMOUS MAINTENANCE
KOBETSU KAIZEN AND JISHU HOZEN
TPM PILLARS ASSESSMSNT
AUTONOMOUS MAINTENANCE
OVERALL INSPECTION
QUALITY MAINTENANCE
LCC & MP Design
Practical 5S
Effective 5Ss Facilitator
How to Audit 5Ss Fairly and Effectively
Visual Control and Poka - Yoke
Superior Working Team
Effective Meeting and Communication
Effective Problem Solving for Manager
Basic Supervisory Skill
Advanced Supervisory Skill
Multi-skill Supervisor
Traditional and New 7 QC Tools
P-M and Why-why Analysis: An Advanced Step to Zero
DOE: Design of Experiment
MSA: Measurement System Analysis
SPC: Statistical Process Control
PM: Preventive Maintenance
PREDICTIVE MAINTENANCE
DESIGN OF EXPERIMENT: THE DOE TRAINING & FOLLOW-UP
ANOVA by MINITAB & SPSS
CROSS FUNCTIONAL ALIGNMENT
การแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วยกา
EFFECTIVE 5S IMPLEMENTATION
EFFECTIVE PROBLEM SOLVING
P-M ANALYSIS
POKA-YOKE
TPM VISUAL CONTROL
TPM VISUAL CONTROL
INITIAL PHASE MANAGEMENT
Machine Life Cycle Costing (LCC)
Root Cause Analysis & Corrective Action
FAILURE MODE & EFFECTS ANALYSIS (FMEA)
Lean Management
TQM in Action
Easy Six Sigma
Productivity Tools and Technique
Total Energy Conservation
Bottom-up Activity
JIT
Project Management
EFFECTIVE MANAGERIAL SKILL
PRACTICAL IE FOR MANAGER
EFFECTIVE COST REDUCTION TECHNIQUES
6S AUDIT (5S EFFECTIVELY)
TPM Consulting Package
In-house Training / TPM 8 Pillars
TPM Tools and Technique
TPM Related
/ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ TPM
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ TPM
ความจริงจังของผู้บริหารสูงสุดเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของการดำเนินกิจกรรม TPM ไม่ว่าจะเป็นความจริงจังในเชิงนโยบาย ความจริงจังในเชิงการกระทำ และความจริงจังในเชิงการสนับสนุน
นอกจากความจริงจังของผู้บริหารแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้กิจกรรม TPM ประสบความสำเร็จ คือ การประกวดกิจกรรมกลุ่มบำรุงรักษาด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการชักจูงใจในการทำกิจกรรมไปด้วยในตัว โดยอาศัยสัญชาตญาณแห่งการเอาชนะของมนุษย์ โดยมีการให้รางวัลในรูปแบบต่างๆ เป็นการตอบแทน
การวัดผลและผลกระทบจากกิจกรรม TPM เป็นปัจจัยที่จะทำให้ทราบสถานการณ์ในการดำเนินกิจกรรม TPM เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนว่า การดำเนินกิจกรรม TPM ประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างไร เพื่อหาทางวางแผนปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยการวัดผลและผลกระทบต้องมีการแบ่งออกเป็นการวัดผลความสำเร็จในการปฏิบัติ และการวัดผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะขององค์การ
ความจริงจังของผู้บริหารสูงสุด
(Top-Management Commitment)
ผู้บริหารสูงสุดต้องให้ความสำคัญกับกิจกรรม TPM ในเชิงนโยบายของบริษัท โดยมีการประกาศนโยบายและประกาศแต่งตั้งคณะทำงาน โดยมิได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรม TPM เพียงแค่ประหนึ่งเป็นโครงการหรือกิจกรรมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตามกระแสนิยมเท่านั้น
นอกจากให้ความสำคัญในเชิงนโยบายแล้ว ผู้บริหารสูงสุดจะต้องลงมือปฏิบัติให้เห็นในเชิงการกระทำอย่างจริงจัง เช่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ให้เวลาในการเดินตรวจเยี่ยมในสายการผลิต เพื่อสอบถามความคืบหน้าหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรในองค์การ
การสนับสนุนด้านต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารสูงสุดต้องมีความจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทางด้านโอกาสในการเรียนรู้ การสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ
กิจกรรม TPM ที่ผู้บริหารเพียงอยากทำและอยากเชยชมความสำเร็จเท่านั้น แต่ไม่ได้มีความจริงจังในการดำเนินการ ทั้งทางนโยบาย ทางปฏิบัติ และทางการสนับสนุน คงจะเป็น กิจกรรม TPM ที่ประสบความสำเร็จได้ยาก หรือเกือบจะพูดได้ว่าเป็นกิจกรรม TPM ที่ไม่มีทางสำเร็จได้อย่างแท้จริง
กิจกรรมกลุ่มย่อยของกิจกรรม TPM
(TPM Small-Group Activity)
ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของกิจกรรม TPM คือ การทำกิจกรรมของพนักงานทุกฝ่ายในองค์การในลักษณะของกิจกรรมกลุ่มย่อยที่มีการเลื่อมล้ำกันในบทบาทและหน้าที่ของผู้นำกลุ่ม (Overlapping) ทั้งนี้ เพื่อให้การสื่อสารสองทางระหว่างระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ (Top-down and Bottom-up) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมกลุ่มย่อยในกิจกรรม TPM แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยระดับบริษัท กลุ่มย่อยระดับ โรงงาน กลุ่มย่อยระดับฝ่าย กลุ่มย่อยระดับแผนก และกลุ่มย่อยระดับปฏิบัติการ โดยกลุ่มย่อยแต่ละระดับมีหน้าที่แตกต่างกัน
กลุ่มย่อยในระดับปฏิบัติการ ก็คือ กลุ่มของผู้ใช้เครื่องจักรที่ทำกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยที่สำคัญที่สุดที่ต้องมีการชักจูงใจให้ปฏิบัติกิจกรรม TPM อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป การจัดประกวดกิจกรรมกลุ่มบำรุงรักษาด้วยตนเองเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงจูงใจได้
กิจกรรมกลุ่มย่อยทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่นโยบายลงไปจนถึงผู้ปฏิบัติ และจากผู้ปฏิบัติขึ้นมากำหนดเป็นนโยบาย อีกทั้งเป็นการชักจูงใจพนักงานได้อีกวิธีหนึ่งด้วย เมื่อนำมาผนวกเข้ากับสัญชาตญาณการเอาชนะของมนุษย์
การวัดผลและผลกระทบจากกิจกรรม TPM
การวัดความสำเร็จในการปฏิบัติ จะแบ่งออกเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มย่อยระดับโรงงาน
ระดับฝ่าย
ระดับแผนก
และระดับกลุ่ม AM
การวัดสมรรถนะขององค์การ ก็คือ การวัดความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มย่อยระดับบริษัทนั่นเอง เพราะถือว่าเป็นผู้ดูแลในภาพรวมทั้งหมดขององค์การ
สิ่งเดียวที่จะบอกเราได้ว่า กิจกรรม TPM เป็นอย่างไร ถูกทางหรือไม่ ได้ผลมากน้อยเพียงใด คือ การวัดผลเป็นระยะๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบความคืบหน้า เพื่อการหยุดทบทวน หรือเพื่อการปรับแผนการดำเนินการต่อไป
Reference
ธานี อ่วมอ้อ.
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง.
กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2547.
ธานี อ่วมอ้อ.
การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2546.
Developing Program: Implementing Total Productive Maintenance. Tokyo: Japan Insyitute, 1996.